การตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายที่
5 การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพ“สร้างและพัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา”
การพัฒนาหน่วยงานทางการศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ดังที่ ฮอย และมิสเกล
(Hoy & Miskel. 2001:1) กล่าวว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่สมาชิกได้พัฒนาขีดความสามารถของตนเพื่อการสร้างสรรค์งานและการบรรลุเป้าหมายของงานอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับสำนักงานข้าราชการพลเรือน (3:2546) กล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ทุกองค์กรต้องดำเนินการตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546 อย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน จะทำให้ประเทศสามารถพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
และดารงสถานภาพของประเทศอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างมั่นคงสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560 - 2564) ได้กำหนดให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการสร้าง ความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจเดิม
และการขยายฐานการผลิตและบริการใหม่ การพัฒนาเมืองสำคัญให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ( สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ,2560:2) และ อมรวิชช์ นาครทรรพ(2550:
5)
กล่าวไว้ว่าการจัดการศึกษานำไปสู่การพัฒนาไปสู่คุณภาพและสามารถรับรองการประเมินภายนอกได้
ดังนั้น
การพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 9
กำหนดให้การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการ จัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
และต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการ
ประกอบกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 สั่ง ณ
วันที่ 3 เมษายน 2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
ให้จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่างๆ ที่มอบหมาย
โดยมอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ 11 (2)
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการ
เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล
และกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติภายใต้บริบทของจังหวัด
เน้นการบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อจัดทำรูปแบบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา โดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 4 แจ้งเรื่องการจัดทำแผนปฎิบัติราชการประจำ
ปีงบประมาณ 2561
ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฯ
ต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
ดำเนินงานพัฒนาหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดราชบุรี ในการจัดทำหลักสูตรฯข้างต้น
จำนวน 3 แห่ง โดยมีรูปแบบพัฒนาหลักสูตรที่พึงประสงค์ ดังนี้
1.
พัฒนาหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยงความรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับวิชาต่างๆ
ในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
(ไม่จำเป็นต้องเป็นหลักสูตรที่มีความต่อเนื่องข้ามระดับ
มีลักษณะคล้ายกับหลักสูตรการสอนแบบ Project)
2.
มุ่งเน้นการเตรียมการที่ทำงานในระบบ (Labor
extensive) เป็นการเชื่อมโยงความรู้ขั้นพื้นฐานไปสู่ความรู้ขั้นสูง ในลักษณะของ Pure science ไปสู่ Applies science )
3
.เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ
เน้นการสร้างความเข้าใจ
การนำไปใช้และการประยุกต์
4 .เป็นหลักสูตร
ที่สามารถนำไปใช้จริงในห้องเรียน มีความยืดหยุ่น
ไม่เป็นหลักสูตรที่แยกออกจากการเรียนการสอนปกติ
ไม่เป็นการใช้เวลาเพื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น อันจะเป็นภาระกับทั้งผู้เรียน ผู้สอน
อวยชัย ศรีตระกูล (2557 : 63-66) กล่าวถึง การขับเคลื่อนศูนย์แนะแนวของเขตพื้นที่การศึกษาให้ครูแนะแนวจากโรงเรียนต่างๆ
ได้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการส่งเสริมการศึกษาเพื่อการมีงานทำเพื่อนำกลับไปปฏิบัติตามนโยบายในโรงเรียน
เชื่อว่าจะส่งผลต่อสัดส่วนผู้เรียน
จากการศึกษาการขับเคลื่อนนโยบายการเพิ่มปริมาณผู้เรียนอาชีวศึกษา : สามัญศึกษา พบว่า ยังมีข้อมูลสำคัญๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบายนี้ ควรทำความเข้าใจและแก้ไข กล่าวคือ
1.
ผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่มีค่านิยมให้นักเรียนเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลาย
เพื่อให้บุตรหลานเข้าศึกษาจนจบปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย
รวมทั้งผู้ปกครองบางท่านขาดความเชื่อมั่นในสถาบันอาชีวศึกษา อันเนื่องมาจากภาพลักษณ์ที่ปรากฏในสื่อสังคม
แม้ว่าในต่างจังหวัดจะมีปัญหาน้อย
ก็เป็นเรื่องที่อาชีวศึกษาต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ดังกล่าว
ครูแนะแนวในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนเอกชน
น่าจะเป็นแกนหลักในการปฏิบัติการประชาสัมพันธ์งานอาชีวศึกษาเชิงบวกให้กับผู้ปกครอง
แน่นอนว่าอาชีวศึกษาต้องร่วมมืออย่างเข้มแข็งด้วย
ขาดการส่งเสริมการพัฒนามานาน
รวมทั้งจำนวนครูแนะแนวไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
ขาดข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ขาดการสร้างเครือข่ายภายนอก
เนื่องจากนโยบายการศึกษาที่ผ่านมาโรงเรียนเน้นให้นักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเป็นหลัก
ปัจจุบันยังมีผู้บริหารและครูจำนวนไม่น้อยที่มุ่งให้นักเรียนเรียนต่อสายสามัญ
เพราะขาดข้อมูลเชิงบวกด้านอาชีวศึกษา
แต่ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่าวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาหลายแห่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า
เด็กเรียนเก่งมีความสำเร็จในการเรียนต่อสายอาชีพจำนวนมาก
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ถึงครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่ ดังนั้นเราต้องเร่งศึกษา
สร้างเครือข่าย และประชาสัมพันธ์ให้ทราบ
3.
สถาบันอาชีวศึกษา
วิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมสูง
มีนักเรียนเข้าไปศึกษาต่อจำนวนมากในขณะที่วิทยาลัยต่างอำเภอจำนวนมาก
ต้องไปหานักเรียนเข้ามาเรียนทุกปี
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเดียวกันกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาตั้งอยู่ก็ยังไม่เรียนเรียนอาสายอาชีพ
ดังนั้นภาพลักษณ์เก่าและกลยุทธ์ใหม่ควรเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นภารกิจแรกๆ ควรออกแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอาชีวศึกษาใหม่
เพื่อให้เด็กได้ใกล้ชิดครูมากกว่านี้ ครูแนะแนวไม่ต้องไปทำหน้าที่ให้กู้เงิน กยศ.
จนไม่มีเวลาให้กับนักเรียนเหมือนที่เป็นกันอยู่ทั้งมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ณ วัน
เวลานี้ ( 14 พฤษภาคม
2557)
โรงเรียนมัธยมศึกษาต้องการต้องการความรู้อาชีพให้กับนักเรียน
ในขณะที่วิทยาลัยเทคนิค/อาชีวศึกษา/การอาชีพต้องการจำนวนนักเรียนมากขึ้น
ช่องว่างความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพร่วมกันยังมีอยู่ หน่วยงานทั้ง 2 ฝ่าย
คงต้องร่วมมือกันสร้างถนนให้เด็กเลือกเดินอย่างถูกต้อง
ภารกิจของสถาบันอาชีวศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรเป็นเจ้าภาพที่ดีร่วมกันในการบริหารการศึกษาด้านการแนะแนวอาชีพเพื่อการมีงานทำ
ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพควบคู่กันไป
4.
ตัวนักเรียน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 และ 6 ส่วนหนึ่งมีความมุ่งมั่นในการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
แต่ก็ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร มีความถนัดด้านไหน
และในอนาคตอยากประกอบอาชีพอะไรที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
มีความรู้มีความสุขในการทำงานอย่างมีความสุข
และสุดท้ายถูกตัดสินในจากผู้ปกครองและกลุ่มเพื่อน
ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จจากการเรียนและการทำงาน ดังนั้นนักเรียนต้องศึกษาเรียนรู้
สร้างแรงบันดาลใจ และมีทักษะการตัดสินใจให้เหมาะสม
จุดนี้จึงเป็นหน้าที่ของครูที่ปรึกษาและครูแนะแนวที่ต้องขับเคลื่อนในกิจกรรมแนะแนวอย่างจริงจัง
มากกว่าเอาคาบแนะแนวไปติว O-NET ไปท่องข้อสอบหรือหรือไปทำอะไรที่นักเรียนเบื่อและคิดไม่เป็น
ต้องขอความร่วมมือผู้บริหารโรงเรียนมองผลสัมฤทธิ์และมองอนาคตเด็กควบคู่กันไป
เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นควรรู้ว่าจะสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างไรก่อน
จากนั้นให้ศึกษาข้อมูลเรื่องอาชีพว่าในอนาคตตนเองอยากทำอะไร
อาชีพ/เงินเดือนค่าตอบแทน/ความรู้ทักษะที่ต้องมี/คุณลักษณะพิเศษที่สร้างขึ้น โอกาสไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยตรงที่ไหน/อย่างไร
คำถามเหล่านี้จะช่วยให้เด็กคิดเป็น
เมื่อเขาทำได้เขาจะมีความสุขกับการทำงานที่เขาชอบและเลือกเอง
ผู้เขียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ครูแนะแนวในศตวรรษที่ 21
จะช่วยนักเรียนของท่านแสวงหาคำตอบได้อย่างแน่นอน
สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายและการพัฒนาการศึกษา
ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญของแนวทางการขับเคลื่อนด้านการศึกษา
โดยมุ่งเน้นการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน
รวมถึงองค์กรประชาสังคม
เพื่อให้การพัฒนาด้านการศึกษามีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
รวมทั้ง มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0
กระทรวงศึกษาธิการเห็นความสำคัญของการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้เรียนมีทางเลือกในการเข้าสู่การศึกษาที่หลากหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ผู้เรียนในสายอาชีพทั้งผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สามารถเข้าสู่เส้นทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ ในการนี้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
จัดโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัด
มีนวัตกรรมที่จะสนับสนุนการศึกษาที่ต่อเนื่องเชื่อมระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
สามารถพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบททางการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพให้มีทักษะต่อยอดในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วมผ่านการจัดเวทีและประชาคมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ประจำปี 2561 นโยบายที่ 5 การเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพ สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงขึ้น
เมื่อเทียบกับผู้เรียนสายสามัญ เป้าหมาย 45:55 เป็นการปฏิบัติการร่วมกันของหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดราชบุรี
เพราะเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้เรียนมีทางเลือกในการเข้าสู่การศึกษาที่หลากหลาย แต่การทำงานครั้งนี้
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
มีแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการจัดทำหลักสูตรฯข้างต้น เพื่อให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานการเรียนต่อในสายอาชีพทั้งผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
สามารถเข้าสู่เส้นทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้เข้าสู่เส้นทางอาชีพได้มากขึ้น
และพัฒนาให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นคุณค่าการทำงานและอาชีพ
ให้สอดคล้องกับบริบทของตนเองและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งแต่ละส่วนแต่ละองค์กร/หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ได้บูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานทางการศึกษา
คือ สถานศึกษา/สถาบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาชั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าและมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาในจังหวัดราชบุรี ต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่
และให้ความร่วมมือส่งเสริมส่งเสริมสร้างและพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในจังหวัดราชบุรีต่อไป

1.ศึกษาข้อมูลสารสนเทศ
วางแผนการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ
อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา จัดทำแผนยุทธศาสตร์
5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)
การจัดทำรูปแบบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
กำหนดวัตถุประสงค์ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่พึงประสงค์ที่เหมาะสมกับระดับวัยของผู้เรียน
ประเด็นยุทธศาสตร์ กรอบแผนยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. จัดทำโครงการ
3.จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบาย
การศึกษาเพื่อการมีงานทำระดับจังหวัด โดยมี
ผู้ว่าราชการจังหวัด
และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
คณะกรรมการที่ปรึกษา
คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการคัดเลือกสถานศึกษา
คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหลักสูตรและคณะกรรมการฝ่ายประเมินผล
4. ประชุมชี้แจงเป้าประสงค์ของโครงการกับหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
5.
เสนอหนังสือไปยังหน่วยงานทางการศึกษาขอความอนุเคราะห์ ประชาสัมพันธ์ สถานศึกษา/สถาบันทางการศึกษาในสังกัด
ที่มีความประสงค์สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษา/สถาบันการศึกษานำร่องหลักสูตรฯ
6. สถานศึกษา /
สถาบันการศึกษา
แจ้งความประสงค์เข้ารับการคัดเลือกและส่งเอกสารประกอบเพื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนด มายังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
7. ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษา/สถาบันการศึกษานำร่องหลักสูตรฯ
จำนวน 3 แห่ง
8. พัฒนาสถานศึกษา/สถาบันการศึกษานำร่องหลักสูตรฯ
ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จัดทำหลักสูตรฯ
ต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ในวงรอบ PDCA
9. จัดสรรเงินงบประมาณให้สถานศึกษา/สถาบันการศึกษานำร่องหลักสูตรฯ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 แห่ง
, แห่งละ 100,000 บาท
10.
นิเทศ ติดตาม ประเมินผล
สถานศึกษา/สถาบันการศึกษานำร่องหลักสูตรฯ
ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งด้านปริมาณ และเชิงคุณภาพ
11.
จัดเวทีประชาคม พร้อมมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ให้สถานศึกษา/สถาบันการศึกษานำร่องหลักสูตรฯ เป็นตัวแทนไปนำเสนอองค์ความรู้
นวัตกรรมการจัดทำหลักสูตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด
ซึ่งจะดำเนินการในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ปีการศึกษา 2561 และ.สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานประกอบการ
หน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดหางานจังหวัด
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน
เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
12.
สรุปรายงานผลไปยัง สำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ตามกำหนดระยะเวลา
13.
ประชาสัมพันธ์สถานศึกษา/สถาบันการศึกษา
นำร่องหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาระดับจังหวัด
ขั้นที่ 1.วิเคราะห์บริบท
สภาพแวดล้อม ข้อมูลสารสนเทศการเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษา
โดยตั้งคณะทำงานจากทุกฝ่าย โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นประธาน
รองผู้อำนวยการที่รับผิดชอบงานวิชาการ( ด้านหลักสูตร) เป็นรองประธาน
หัวหน้าฝ่ายแนะแนวเป็นเลขานุการ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาและงานอาชีพในท้องถิ่น
(จังหวัด/อำเภอ) ดังนี้
สำรวจและวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นในการจัดหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง
ซึ่งเป็นการศึกษาสภาพการณ์ สำรวจ ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ด้านผู้สอนที่มีในโรงเรียน
ชุมชน ท้องถิ่น และวิเคราะห์ผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ความต้องการในการศึกษาต่อ
เป้าหมายการทำงานในอนาคต อาชีพในท้องถิ่น อาชีพที่ตลาดต้องการ ฯลฯ
ปัจจุบันนักเรียนขาดหรือมีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ หรือทักษะการทำงานขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับใด
และสามารถนำไปใช้ศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา/อุดมศึกษาหรือไม่
หากมีแล้วเพียงพอกับหรือไม่
หรือในชุมชนมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือสมรรถนะในอาชีพใด
ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาหรือก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่น และช่วยให้การทำงานหรือชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลในชุมชนดีขึ้นอย่างไร
สรุปปัญหาและแนวทางการพัฒนางานอาชีพเพื่อการมีงานทำในโรงเรียน
เสนอฝ่ายบริหารพิจารณา โดยกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ (อัตราการเรียนต่อสายอาชีพ)
และเชิงคุณภาพ (สมรรถนะนักเรียนด้านอาชีพ)
ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก ๆ ได้แก่ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 5 กลุ่มสาระ
ประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ประสบการณ์
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการสร้างเจตคติในเรื่องที่ได้สำรวจพบในขั้นที่ 1
กำหนดวัตถุประสงค์ให้ตรงหรือสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ผลการเรียนรู้ หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด
และสภาพการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ได้วิเคราะห์ไว้
และต้องชี้ชัดไปได้ว่า เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินการแล้วจะมีผลการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ผู้ที่เข้ามาเรียนตามหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องได้เรียนรู้หรือได้ประสบการณ์อะไรบ้างและมีการเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานไปสู่ความรู้ขั้นสูงในลักษณะของ
Apply science หรือไม่
ขั้นที่ 3.จัดทำหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องซึ่งต้องถูกกำหนดไว้ในโครงสร้างรายวิชาของหลักสูตร
สถานศึกษา
หรืออาจอยู่ในรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวอาจมีระยะเวลาสั้น
ซึ่งเป็นแผนงานที่จัดทำขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
หากหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องถูกกำหนดไว้อย่างครอบคลุมเป้าหมายผู้เรียน
และความต้องการของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ย่อมสำเร็จออกมาได้ด้วยดี การจัดทำหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง ต้องเขียนให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
โดยในหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องควรระบุหัวข้อหลัก ๆ เช่น ชื่อหลักสูตร
(รายวิชาพื้นฐานหรือสาระเพิ่มเติมหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบผู้เข้าร่วม การประเมินผล และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ความชัดเจนของหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
ช่วยให้การพิจารณาอนุมัติทำได้ง่ายขึ้นและสะดวกต่อการดำเนินการ
ขั้นที่ 4 สร้างและพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องมีขั้นตอนและกระบวนการสร้างและพัฒนาดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.1
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
1.2.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
1.3. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 -
2579)
1.4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(พ.ศ. 2560 - 2579)
1.5. นโยบายรัฐบาล
1.6. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.
2558 - 2574)
1.7. นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
1.8. นโยบายการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ 2561
1.9. ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ
1.10. ยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.11. ยุทธศาสตร์จังหวัดราชบุรี
1.12 .ยุทธศาสตร์ศึกษาธิการภาค
1.13. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง
วัฒนธรรม
1.14.
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.15 .ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21
1.16. ความต้องการจำเป็นและสภาพปัญหา
1.17. นโยบาย /
แผนงานของหน่วยงาน
1.18. เป้าหมาย
(ปริมาณและคุณภาพ)
1.19. องค์ความรู้
1.20. จิตวิทยาการเรียนรู้
1.21. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง
พุทธศักราช 2560)
2 ยกร่างหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
2.2 วางแผน กำหนดรูปแบบการจัดทำหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
2.3 จัดเตรียมเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ
2.4 กำหนดวันเวลาในการดำเนินการสร้างหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
3 .พัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
3.1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
3.2 กำหนดเนื้อหาและรายละเอียด
3.3 เลือกกิจกรรมและประสบการณ์
การจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ในสถานศึกษามัธยมศึกษา
เปิดหลักสูตรอาชีพระยะสั้น หลักสูตร 20,40,60,120
ชั่วโมง
โดยร่วมมือกับวิทยาลัยสารพัดช่างหรือการศึกษานอกโรงเรียน
หรือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัด จัดแผนการเรียนอาชีพในรูปแบบห้องเรียนอาชีพ
หรือห้องเรียนพิเศษ ช่างยนต์ ช่างเชื่อม การโรงแรม มัคคุเทศก์ หรืออื่นๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1-3 หรือ 4-6
ส่งเสริมอาชีพในโรงเรียน
โครงงานสำรวจอาชีพ กิจกรรมร่วมมือระหว่างบ้านกับ
3.4 กำหนดวิธีการประเมินผลและเกณฑ์การประเมิน
3.5 ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเชื่อมโยงเหมาะสม
4. นำหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องไปทดลองใช้
4.1 จัดทำวัสดุหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
4.2 ประชาสัมพันธ์หลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
4.3 คัดเลือกครูผู้สอน/วิทยากร
4.4
เตรียมสถานที่อุปกรณ์
เครื่องมือ ฯลฯ
4.5 ดำเนินการจัดการเรียนรู้
/ ฝึกอบรม
4.6 บริการหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
4.7 นิเทศ ติดตามการใช้หลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
5. ประเมินผลหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
5.1 ประเมินผลหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
5.2 ประเมินผลการใช้หลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
ขั้นที่ 5 การวางแผนการบริหารหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการใช้หลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องซึ่งจะต้องพิจารณาองค์ประกอบการดำเนินงานในทุก
ๆ ด้าน เช่น งบประมาณ สถานที่ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน
สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก เป็นต้น
ดังนั้นผู้รับผิดชอบหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องจะต้องมีการบันทึก ควบคุม
และตรวจสอบงานแต่ละด้าน
ขั้นที่ 6 ดำเนินการใช้หลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง เป็นขั้นที่ดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องที่ได้สร้างไว้
โดยมีบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ รับผิดชอบงานที่มอบหมายไว้ล่วงหน้า
ขั้นที่ 7
ประเมินผลการใช้หลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
อย่างเป็นระบบตั้งแต่การประเมินข้อมูลนำเข้า (Input) การประเมินกระบวนการ
(Process) และการประเมินผลผลิต (Output)
ขั้นที่ 8 ติดตามผลการดำเนินการ
ผู้บริหารหลักสูตรเชื่อมโยงการนำความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ฯลฯ
ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้
เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องในปีต่อไป

1. ปรึกษา หัวหน้า/รองผู้อำนวยการฯ
ขอความเห็นในการขับเคลื่อนพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง
การศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
2
เสนอผู้อำนวยการให้ประชุมแจ้งนโยบายให้คณะครูทุกคนและแจ้งให้ผู้ปกครองทุกคนทราบ
เพื่อให้ ความร่วมมือ
3 กำหนดทีมงานขับเคลื่อนพัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
4.
กำหนดโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการงานกิจกรรมในหลักสูตรฯ
5. นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
6. ค้นหาผลการปฏิบัติงานที่ดี
และนำเสนอให้เป็นตัวอย่าง
7 รายงานผู้อำนวยการสถานศึกษา

การบริหารหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรระยะสั้นต้องใช้ปัจจัยการบริหารเนื่องจากผู้ออกแบบหลักสูตรต้องกำหนดระยะเวลาที่มีช่วงระยะเวลาจำกัดหรือค่อนข้างสั้น
ไม่ได้หมายถึงการขับเคลื่อนตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนเหมือนรายวิชาพื้นฐานทั่วไป
แต่การบริหารจัดการจึงต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียนมากที่สุดและต้องใช้การตัดสินใจ
สั่งการที่รวดเร็ว รวมทั้งการประสานงานที่กระชับฉับไว การจัดเตรียมงานทุกอย่างต้องพร้อมก่อนการดำเนินการ
การบริหารหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องจึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินการเป็นอย่างมากที่ต้องทำในการในการจัดหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องที่มีระยะสั้นดังนี้
1.
เสนอขออนุมัติหลักสูตรและงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
2.
แต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ
3.
จัดครูผู้สอนหรือติดต่อวิทยากร
4.
จัดทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
5.
รับสมัครหรือคัดเลือกผู้เรียน
6.
จัดห้องเรียนที่เหมาะสมกับผู้สมัคร
7.
เลือกและจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์
และจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
8.
อำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน
9.
ติดต่อประสานงานการดูงานนอกสถานที่
การฝึกปฏิบัติในหน่วยงานภายนอกล่วงหน้า (ถ้ามี)
10.
เตรียมเอกสารการทดสอบ
และการประเมินผลหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่อง
11.
แจกวุฒิบัตร/เกียรติบัตร
12.
รวบรวมหลักฐานด้านการเงินและงบประมาณ
และสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บังคับบัญชา

การจัดทำหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นหลักสูตรระยะสั้น
แตกต่างจากหลักสูตรการฝึกอบรมทั่วไป
โรงเรียนต้องมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรในสาระวิชาต่างๆ ที่กำหนดอย่างครบถ้วน
เข้าใจเป้าหมายการขับเคลื่อนหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องอย่างถ่องแท้และออกแบบหรือพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องตามกระบวนการ
ขั้นตอนเช่นเดียวกับหลักสูตรทั่วไป
การบริหารหลักสูตรเชื่อมโยงต่อเนื่องอาจเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาสั้นตามธรรมชาติวิชาและเนื้อหาสาระ
จึงต้องอาศัยหลักการบริหารทั่วไป คือ การวางแผน การจัดหน่วยงาน การอำนวยการและการควบคุม
แต่เนื่องจากมีช่วงระยะเวลาสั้น การบริหารหลักสูตรจึงต้องอาศัยการดำเนินงาน ที่รวดเร็ว เช่น
การตัดสินใจหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ถูกต้องและการประสานงานที่ดี
สรุปและข้อเสนอแนะ
การบริหารนโยบายการสร้างและพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาทำให้บรรลุหลักการและเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการได้นั้น
ผู้บริหารของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี เขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา
ครู และบุคลากรทางการศึกษา ต้องมีความชัดเจนและมีความรู้ ความเข้าใจนโยบายและเป้าหมาย
ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ตรงกันว่าในการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้เรียนมีทางเลือกในการเข้าสู่การศึกษาที่หลากหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ผู้เรียนในสายอาชีพทั้งผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สามารถเข้าสู่เส้นทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
สามารถพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบททางการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพให้มีทักษะต่อยอดในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการทำงานและรูปแบบการประสานงานแบบบูรณาการสร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา อาชีวศึกษา ระดับสถานศึกษา
ที่จะร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อการมีงานทำของสถานศึกษา และของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น